Category Archives: บัญชีกับการลงทุน

หน้ารายงานฯแบบที่ 4 (แบบไม่แสดงความเห็น)

หน้ารายงานแบบสุดท้าย แบบนี้พอจะอุปมาได้ว่า ไม่หล่อ แล้วยังจน แถมมีหนี้สินรุงรัง ทำอะไรก็มีแต่ปัญหา และยังป่วยหนักอีก อาการ โคม่าด้วย ไม่รู้จะได้กลับบ้านเก่าวันใดถ้าไม่รีบรักษา

ประกอบด้วย 3 หรือ 4 วรรคก็ได้ ประกอบด้วยดังนี้

(1) วรรคนำ เช่นเดียวกับความเห็นอย่างไม่มีเงือนไข  แต่ว่าถ้าเป็นกรณีที่ถูกจำกัดขอบเขตจะขึ้นหัววรรคว่า ” ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เข้าทำการตรวจสอบ ” แทน วรรคนำ แบบปรกติ แต่ไม่ต้องแสดง ข้อความที่ระบุถึงความรับผิดชอบของผู้สอบฯ เพราะว่าผู้สอบไม่สามารถ ปฎิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานฯได้ ถ้าเป็นกรณีมีปัญหาการดำเนินงานต่อเนื่อง(ขาดทุนมาก ไม่มีกำไร)หรือ มีความไม่แน่นอนอื่น ประโยคสุดท้ายของวรรคนำจะเปลี่ยนิดหน่อยดังนี้  ” ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงานต่องบการเงิน….”

(2) วรรคขอบเขต วรรคนี้ อาจไม่แสดงไว้ก็ได้ (ตัวอย่างที่เอาให้ดูไม่แสดงวรรคนี้)

(3) วรรคอธิบายก่อนวรรคความเห็น เช่นเดียวกับความเห็นอย่างมีเงื่อนไข ยาวเหยียดเลย หรือไม่ใส่ ก็ได้เพราะไม่รู้จะอภิบายอะไร มันชัดเจนในตัวอยู่แล้ว

(4) วรรคความเห็น จะใช้คำว่า  “เนื่องจาก….  มีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวข้างต้น…”

ตัวอย่างงบการเงินแบบที่ 4

รายงานของผู้สอบบัญชี

เสนอผู้ถือหุ้นของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เข้าทำการตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และพ.ศ. 2549 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะบริษัท งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดง               การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะบริษัท สำหรับปีสิ้นสุด
วันเดียวกันที่แนบมานี้ของแต่ละปีของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้

ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บริษัทมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 2,095 ล้านบาทและมีขาดทุนสะสมเกินทุนจำนวน 2,167 ล้านบาท และหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 24       ที่กล่าวถึงการที่บริษัทถูกเพิกถอนสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ (“สัญญาสัมปทาน”)   โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (“สำนักงานปลัดฯ”) เนื่องจากบริษัทไม่ได้ชำระค่าสัมปทานส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาท รวมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของค่าสัมปทานส่วนต่างทั้งหมดและค่าปรับในการปรับเปลี่ยนผังรายการจำนวน            97,760 ล้านบาทตามผลคำตัดสินของศาลปกครองกลางสูงสุดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549  ผลจากการถูกเพิกถอนสัญญาสัมปทานทำให้บริษัทต้องหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา นอกจากนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานปลัดฯยังได้เรียกร้องเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินที่ส่งมอบไม่ครบจำนวน 656 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งผลของข้อพิพาทในเรื่องเหล่านี้ยังไม่เป็นที่สิ้นสุดและบริษัทยังมิได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สินสำหรับค่าปรับในการปรับเปลี่ยนผังรายการและมูลค่าทรัพย์สินที่ส่งมอบไม่ครบซึ่งอาจเกิดขึ้นไว้ในงบการเงินดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2550 และวันที่ 9 พฤษภาคม      พ.ศ. 2550 บริษัทได้ดำเนินการนำข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าสัมปทานส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาท ดอกเบี้ยล่าช้า ค่าปรับในการปรับเปลี่ยนผังรายการจำนวน 97,760 ล้านบาท และ มูลค่าทรัพย์สินที่ส่งมอบไม่ครบ พร้อมดอกเบี้ยเข้าสู่กระบวนการของอนุญาโตตุลาการ บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหุ้นของบริษัทจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแสวงหาแนวทางในการประกอบธุรกิจใหม่และฟื้นฟูกิจการของบริษัทโดยจะนำเสนอแผนดังกล่าว เพื่อขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นและเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป สถานการณ์ดังกล่าวเป็นความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของบริษัท

เนื่องจากเรื่องที่กล่าวในวรรคก่อนมีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทสำหรับปี  สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2549 ของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวข้างต้นได้

ประสัณห์  เชื้อพานิช

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 3051

บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด

กรุงเทพมหานคร

20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Leave a comment

Filed under บัญชีกับการลงทุน

หน้ารายงานแบบที่ 3 (ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง)

มีดีกรีของปัญหาที่ผู้สอบบัญชีฯตรวจเจออยู่ในระดับที่ สาหัสมาก หน้ารายงานแบบนี้ เหมือนกับ หนุ่มไม่หล่อแถมจน ถ้าจะแต่งงานด้วยคงเหนื่อยทั้งกาย และใจ เพราะแค่เห็นหน้าก็เหนื่อยกว่าเดิมอีก

แบบนี้จะมี 3 วรรคขึ้นเป็นโครงสร้างเหมือนหน้ารายงานแบบที่ 2 เลยครับ แต่ว่าจะมีวรรค ที่ 4 แทรกตรงวรรคความเห็นเพิ่มมาซึ่งมีเนื้อความประมาณดังนี้

“ข้าพเจ้าเห็นว่าเนื่องจาก…มีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน งบการเงินข้างต้นนี้ไม่ได้แสดงฐานะการเงิน..โดยถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป “


ตัวอย่างรายงานว่า งบการเงินไม่ถูกต้อง หายากมาก เอาเป็นว่า ถ้าผู้ใดเจอก็เอามาโพสต์ให้เพื่อนๆ และผมได้ดูเป็น บุญ ตาหน่อยครับ  แต่ว่าจะมีข้อความประมาณนี้ครับ (ของบจ กขค)

(วรรคอภิบาย) แทรกระหว่างวรรคที่ 2 กับ 3

บริษัทมีหนี้สินระยะยาวจำนวนเงิน 30 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ก่อสร้างและซื้อเครื่องจักร เงินกู้นี้มีกำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี โดยชำระเป็นรายปีตั้งแต่ 1 ตุลาคม 25×1 เป็นต้นไป บริษัทได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ซึ่งมีราคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25×1 จำนวน 42 ล้านบาท ไว้เป็นหลักประกัน ภายใต้สัญญาเงินกู้ บริษัทต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ที่กำหนดไว้ เช่น การก่อหนี้สินเพิ่มเติม การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น เงินกู้ระยะยาวนี้บริษัทแสดงรวมไว้ในบัญชีเงินกู้ยืมจากธนาคารภายใต้หัวข้อหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล บริษัทมิได้เปิดเผยรายการและข้อมูลดังกล่าวข้างต้นไว้ในงบการเิงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

นอกจากนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25×1 บริษัทมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการค้ำประกันเงินกู้จำนวนเงิน 40 ล้านบาทของบริษัท .. จำกัด ซึ่งบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ การค้ำประกันมีกำหนดเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 25×1 เป็นต้นไป แต่บริษัทไม่ได้เปิดเผยภาระค้ำประกันดังกล่าวในงบการเงิน

(3) วรรคความเห็น  ข้าพเจ้าเห็นว่า เนื่องจากผลกระทบของเรื่องที่กล่าวไว้ในวรรคก่อนมีสาระสำคัญอย่างมาก งบการเงินข้างต้นนี้ไม่ได้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25×1 ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กขค จำกัด โดยถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เคสนี้คือเคสที่ บริษัท กขค จำกัดไม่ได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ซื้อหุ้นทราบว่ากิจการมีหนี้สินเยอะมาก และกำลังมีปัญหาเอาที่ดินไปค้ำประกันแบงค์อีก แต่ บมจ แห่งนี้ก็ไม่เปิดเผยว่าตัึวเองมีหนี้สินมากมาย เพราะเกรงว่างบการเงินจะไม่สวย แมงเม่าจะไม่มาตอมเลยปกปิดไว้และผู้สอบ(ที่ดี) ตรวจมาเจอเข้า เลยต้องเอามาบอกนักลงทุนให้ทราบ ไม่รู้ว่านักลงทุนจะอ่านใหมหน้าที่ เพราะเป็นการรายงานแบบ ภาษาไทยเลย ตรงๆ

หน้ารายงานแบบนี้หาไม่ค่อยเจอเพราะถ้าเป็นงบการเงินในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งตรวจสอบทุกไตรมาส บริษัทจะแก้ไขทันทีในไตรมาสถัดไป เมื่อแก้ไขเสร็จ ผู้สอบก็ต้องเปลี่ยนหน้ารายงานไปออกอีก 3 แบบที่เหลือ แบบนี้จึงหายากมาก ถ้าเป็นงบฯในตลาดฯ

Leave a comment

Filed under บัญชีกับการลงทุน

หน้ารายงานแบบที่ 2 (แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข)

ต่อครับ

หน้ารายงานแบบที่ 2 นี้  มีดีกรีของปัญหาที่ตรวจเจอในระดับที่ ปานกลางแต่ซื้อหุ้นได้ไม่เจ็งหรอก หน้ารายงานแบบนี้ เหมือนกับ หนุ่มไม่หล่อแต่รวย(Not Perfect) จะมีข้อความดังนี้

เหมือนแบบที่ 1 ทั้งหมดเลยโครงสร้าง คือเอา 3 วรรค มา แล้วแทรก วรรคอย่างน้อยอีก 1 วรรค รวมความได้ว่าหน้ารายงานฯ แบบที่ 2 นี้ มีวรรคทั้งหมดรวมกันอย่างน้อย 4 วรรคโดยแบ่งเป็น กรณีต่างๆตามอาการของปัญหา คราวๆ

1. มีการเน้นข้อมูลและเหตุกาณ์ที่มีสาระสำคัญ เช่นเปลี่ยนนโยบายทางบัญชี หรือ กิจการบันทึกบัญชีผิดหลักการทางบัญชีและกระทบกับตัวเลขในงบการเงิน

2. กรณีมีเหตุการณ์ความไม่แน่นอนเช่น มีคดีฟ้องร้องเรื่องคาฯอยู่ หรือ ว่าขาดทุนสะสมเยอะ

3. กรณีขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด เ่ช่นไม่ได้นับสต๊อกสินค้าคงเหลือสิ้นปีเป็นต้น

4. กรณีมีความขัดแย้งกับผู้บริหาร

รายงานของผู้สอบบัีญชีรับอณุญาต

เสนอ ……..

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล (1) วรรคนำ ……………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………….


ยกเว้นที่จะกล่าวในวรรคถัดไป ข้าพเจ้าได้ปฎิบัติฯ (2) วรรคขอบเขต……………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………….

(4) วรรคอภิบาย  จะระบุถึงสาเหตุ หรือเหตุผลของกามีเงื่อนไขไว้พร้อมผลกระทบที่มีต่องบการเงิน(ถ้าสามารถระบุจำนวนเงินได้) และอาจอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่เกี่ยวข้อง ………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………..


ข้าพเจ้าเห็นว่า ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงซึ่งอาจจำเป็น ถ้าข้าพเจ้าสามารถฯ………………………………………… งบการเงินข้างต้นนี้ (3) วรรคแสดงความเห็น……………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………….

วรรคถัดไปต่อจากวรรค (3) นี้เป็นวรรคที่เรียกว่าเป็นวรรคเสริม โดยจะเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ ที่ผู้สอบได้ตั้งข้อสังเกตุ และ มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน

ตัวอย่างหน้ารายงานผู้สอบแบบที่ 2 นี้

เสนอ  ผู้ถือหุ้นของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 และงบกำไรขาดทุนรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรวม และงบกระแสเงินสดรวมสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 และงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกระแสเงินสดสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันเดียวกันเฉพาะของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า

ยกเว้นที่จะกล่าวในย่อหน้าที่สาม สี่ และห้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้ และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าได้รับหนังสือยืนยันยอดจากธนาคารและสถาบันการเงินเกี่ยวกับยอดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้คงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ปรากฏว่ามีผลแตกต่างจากยอดคงเหลือตามบัญชีของเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่ายเป็นจำนวน 2,950 ล้านบาท นอกจากนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้รับหนังสือยืนยันยอดเงินต้นและดอกเบี้ยค้างจ่ายซึ่งมียอดคงเหลือตามบัญชีจำนวน 90 ล้านบาท และ 395 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้บริหารแจ้งว่าผลแตกต่างส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยแขวนซึ่งบริษัทรับรู้เป็นรายได้จากการปรับปรุงหนี้สินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อมีการลงนามในสัญญาในปี 2544 และ 2548 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปของไทย แต่ธนาคารเจ้าหนี้ยังคงจดบันทึกช่วยจำเป็นดอกเบี้ยค้างรับจากบริษัท รอจนกว่าบริษัทจะชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วน นอกจากนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมียอดเงินกู้ยืมและหนี้สินจากการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งมียอดคงเหลือตามบัญชีบางส่วนจำนวนประมาณ 569 ล้านบาท ที่เจ้าหนี้ยังไม่ได้ตอบยืนยันความถูกต้องของยอดคงเหลือดังกล่าวมายังข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในผลแตกต่างตามที่ธนาคารและสถาบันการเงินเจ้าหนี้ตอบยืนยันยอดข้างต้น และในความถูกต้องครบถ้วนของยอดเงินกู้ยืมและหนี้สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นได้

ตามที่เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 6 บริษัทมีเงินให้กู้ยืมและเงินทดรองและเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินกับบริษัทย่อยเป็นจำนวนมาก บริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สูญสำหรับรายการดังกล่าว ซึ่งโดยปกติจะตั้งค่าเผื่อไว้ในบัญชีภายหลัง 1 ปีที่เกิดรายการ ทั้งนี้ตามที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนเฉพาะของบริษัท สำหรับปี 2551 และ 2550 บริษัทมีค่าเผื่อหนี้สูญจำนวน 179 ล้านบาท และ 402 ล้านบาท ตามลำดับ การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าว อาจจะพิจารณาได้ว่าถือตามหลักความระมัดระวัง แต่อาจไม่เหมาะสมในการจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเมื่อไม่ได้มีการติดตามทวงถามหนี้อย่างเหมาะสม ข้าพเจ้าไม่อาจพิจารณาได้ว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่

ตามที่เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 17 ในระหว่างปี 2551 บริษัทได้ว่าจ้างผู้ประเมินราคาทรัพย์สินอิสระทำการประเมินมูลค่าสิทธิการเช่าโดยเลือกใช้วิธีพิจารณาจากรายได้ (Income approach) โดยคำนวณมูลค่าจากรายได้โดยประมาณคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วพบว่ามูลค่าของสิทธิการเช่าสำหรับระยะเวลาเช่าคงเหลือ 28 ปี             มีมูลค่าประมาณ 87 ล้านบาท บริษัทจึงปรับมูลค่าสิทธิการเช่าตามบัญชีลดลงจำนวน 31 ล้านบาท ให้เหลือเท่ากับราคาประเมินดังกล่าว อย่างไรก็ตามตามที่ปรากฏเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ณ ปัจจุบันและประสบการณ์ที่บริษัทย่อยมีผลขาดทุนจากการใช้สิทธิการเช่าดังกล่าวดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ข้าพเจ้าไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจได้ว่าการคำนวณประมาณการกระแสเงินสดคิดลดดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่

ข้าพเจ้าเห็นว่า ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงต่องบการเงินที่อาจจำเป็น ถ้าข้าพเจ้าตรวจสอบให้เป็นที่พอใจเกี่ยวกับยอดหนี้ค้างชำระธนาคารและสถาบันการเงินสำหรับหนี้สินจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่สาม ความเหมาะสมในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามที่กล่าวในย่อหน้าที่สี่ และความเหมาะสมของประมาณการกระแสเงินสดตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ห้า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทดังกล่าวข้างต้น แสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 และผลการดำเนินงานรวม และกระแสเงินสดรวม สำหรับแต่ละปีสิ้นสุด วันเดียวกันของบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 และผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันเดียวกันเฉพาะของบริษัท กฤษดา           มหานคร จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

ดยที่ความเห็นของข้าพเจ้ายังคงเดิมต่องบการเงินของบริษัท ข้าพเจ้าขอให้สังเกตข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยไว้ใน  หมายเหตุประกอบงบการเงินดังนี้

  1. หมายเหตุประกอบงบการเงิน 19 : บริษัทยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้ซึ่งได้มีการตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทและเจ้าหนี้ตามสัญญาโอนทรัพย์ชำระหนี้ที่ทำไว้กับธนาคารแห่งหนึ่งและสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นจำนวนเงินรวม 768 ล้านบาท บริษัทได้บันทึกตัดบัญชีหนี้สินกับต้นทุนของที่ดินตามที่ตกลงกัน และรับรู้กำไร/ขาดทุนจากการตีทรัพย์ชำระหนี้ไว้ในบัญชีแล้วตั้งแต่ปี 2544 และ 2548 ผู้บริหารเชื่อว่าการโอนที่ดินล่าช้าจะไม่เป็นเงื่อนไขให้ถือว่าผิดสัญญาชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ให้ชะลอการโอนเพื่อรอรับสิทธิที่จะเสียค่าโอนที่ดินลดลงจากประกาศของรัฐบาล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทผิดนัดชำระเงินต้นที่ครบกำหนดชำระตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เป็นจำนวนรวม 219 ล้านบาท บริษัทยังคงไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นบางประการตามที่ระบุในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้ ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเพื่อขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้และผ่อนปรนการผิดเงื่อนไขตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าว นอกจากนั้นบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งรวมถึงการลดหนี้ การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และการผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นบางประการ อย่างไรก็ตาม เพื่อปฏิบัติตามแม่บทการบัญชีเรื่องความระมัดระวัง บริษัทได้จัดประเภทเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งหมดเป็นหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เนื่องจากภายใต้สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเงินกู้ยืมคืนทั้งจำนวนได้ทันที

  1. หมายเหตุประกอบงบการเงิน 11 และ 27 : ในระหว่างปี บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับแจ้งจากธนาคารเจ้าหนี้ว่าภาระหนี้สินที่เคยเรียกร้องจากบริษัทย่อยจำนวนประมาณ 21.49 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยได้ตั้งค้างจ่ายไว้ในบัญชีในปี 2549 นั้นได้รับการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว โดยผู้บริหารแจ้งว่าเป็นการชำระหนี้จากบุคคลภายนอกในระหว่างไตรมาสที่ 1 และบริษัทย่อยดังกล่าว ไม่มีภาระผูกพันต่อธนาคารและต่อผู้ที่ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวอีกต่อไป นอกจากนี้ ในระหว่างปี 2550 ถึงไตรมาสที่ 1 ในปี 2551 บริษัทได้รับคืนเงินค่าลงทุนในกิจการร่วมค้าโดยครบถ้วน ทั้งนี้บริษัทได้ตั้งค่าเผื่อขาดทุนไว้ในบัญชีในปี 2549 เป็นจำนวน 10 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทย่อยและบริษัทจึงได้ตัดบัญชีหนี้สินจำนวน 21.49 ล้านบาท และโอนกลับค่าเผื่อขาดทุนในเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าจำนวน 10 ล้านบาท เป็นรายได้สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551

นายสมคิด  เตียตระกูล

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ทะเบียนเลขที่ 2785

กรุงเทพมหานคร

27 กุมภาพันธ์ 2552

แหล่งอ้างอิงนี้ เปิดเผยต่อสาธารณชน สามารถเข้าไป Seargh บริษัทอื่นมาดูได้

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin2/cgi-bin/findFS.php?lang=t&ref_id=74&content_id=1

Leave a comment

Filed under บัญชีกับการลงทุน

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีแบบที่ 1

ทุกงบการเงินของประเทศไทย รวมถึงทั่วโลก จะมีหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีที่แสดงความเห็นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่องบการเงิน (บทความก่อนหน้าเรื่องแม่บทการบัญชี) เป็นบทสรุปผลการตรวจสอบประจำปี หากว่าผู้ใดจดทะเบียนห้างฯ และบริษัทขึ้นมาจะต้องหาผู้สอบบัญชี หรือผู้สอบภาษี มารับรองงบการเงินทุกปีเพื่อเป็นการ รับรอง ยืนยัน จากผู้สอบบัญชีก่อนที่จะส่งงบการเงินไปให้ กระทรวงพาณิชย์ และ กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ด้านภาษีของชาติ และอื่นๆ

งบการเงินแบบแรก เรียกภาษาบ้านๆว่า งบการเงินแบบ  3 วรรค หรือว่า งบคลีน (คือสะอาด) ไม่มีอะไรไม่ชอบมาพากล ตามที่ผู้สอบบัญชีได้ทำการตรวจสอบมาแล้ว งบแบบนี้ เป็นงบที่ทุก ห้างฯ และทุกบริษัท ต้องการให้เป็น เพราะว่า ม้ันแสดงถึงเนื้อใน หรือ ภายในระบบการเงินของบริษัท ดีเยี่ยม ไม่มีโรคแทรกซ้อน หรือเป็นเหตุให้กิจการล้มได้

รายงานของผู้สอบบัีญชีรับอณุญาต

เสนอ ผู้ถือหุ้น/ผู้เป็นหุ้นส่วนของ บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25×1 งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และ งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของ บริษั …….. จำกัด ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าได้ปฎิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฎิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงิน และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้ และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25×1 ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท …… จำกัด โดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

นายชัยยะ   ชัยวิชญกุล

(นายชัยยะ   ชัยวิชญกุล)

ผู้สอบบัญชีรับอณุญาต เลขทะเบียน  84000



สำนักงานสอบบัญชี ชัยยะ

1 ถนนรามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กทม 10240


วันที่ 20 เมษายน  25×2

แปลไทยเป็นไทย วรรคแรก คือวรรคนำ เป็นการเกริ่นว่า ผู้สอบได้ตรวจสอบงบการเงินของบริษัท ของท่านนะ ประเด็นของวรรคนำคือว่า งบการเงินนี้ ผู้รับผิดชอบความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด คือ เจ้าของบริษัท  ผู้สอบไม่เกี่ยว เพราะผู้สอบไม่ได้เป็นคนทำบัญชีให้ และหน้าที่ของผุ้สอบที่มารับรองงบการเงินของบริษัทนี้ คือ แค่มาแสดงความเห็นต่องบการเงินเฉยๆ อิอิ(ปล การแสดงความเห็นของผู้สอบนั้นต้องมีความน่าเชื่อถือสูงกว่า นาย ก หรือยามหน้าบ้านแน่ๆ เพราะ ว่าคนธรรมดาทั่วไปก็แสดงความเห็นได้เหมือนกัน)

วรรคถัดมาเรียกว่า วรรคขอบเขต  วรรคนี้ผู้สอบบัญชีฯ จะบอกแก่ท่านว่า ที่จ้างผุ้สอบมาตรวจสอบนั้น ผู้สอบเอาหลักการสองหลักการที่น่าจะก่อให้เกิดความเชื่ออย่างมีเหตุผล มาตรวจสอบคือ

1 หลักการตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป

2 หลักการบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เพียงสองหลักนี้ก็ทำให้งานของผู้สอบบัญชีนั้น มีมากมายแล้ว เพราะว่าต้องตรวจ ตาม Audit Program และ ตรวจสอบว่ากิจการใช้หลักการบัญชีในการบันทึกบัญชีถูกต้องตามควร ในสาระสำคัญ ตรงใหน อย่างไร หรือไม่ วรรคนี้จะเป็นการบอกว่านอกจากหลักการดังที่กล่าวมา ยังมีการใช้ความสามารถเยี่ยงผู้ชำนาญเฉพาะทางเท่านั้นทำได้ วินิจฉัย ทุกแง่มุมของงบการเงินประกอบการแสดงความเห็นด้วย

วรรคสุดท้าย วรรคแสดงความเห็น วรรคนี้ผู้สอบจะแสดงความเห็นว่า ที่ลงทุนตรวจสอบมาทั้งหมด ใช้เวลา และพลังกาย ใจ ความคิด นั้น สรุป แล้ว ผู้สอบมีความเห็นเป็นเช่นไร โดยวรรคที่เป็นสาระสำคัญของวรรคนี้คือ ข้าพเจ้าเห็นว่า บรา…… แสดงฐานะทางการเงิน บรา… โดยถูกต้องตามควร (เท่านั้นไม่ใช่ 100%) ในสาระสำคัญ (เพราะไม่ได้ตรวจสอบ ทุกบรรทัด เอาเฉพาะที่สำคัญๆ) ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (ตามมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทยนะ) เท่านั้น

จบ

ปีหน้ัาก็ ตรวจใหม่นะครับ ท่านผุ้มีพระคุณทั้งหลาย

ดังนั้นถ้าท่านจะเปิดบริษัท ท่านต้องหาผุ้สอบมาเซ็นต์งบการเงินก่อนยื่ีน สรรพากร และ กรมพัฒนาธุรกิจ ทุกปี ตามกฎหมายแพ่ง โดยกำฎหมายกำหนดให้ บริษัท ห้างร้านต้องมีผู้ร้ับรองงบการเงินดังนี้ เป็นต้น

มาตรา 1209 ที่ประชุมสามัญต้องเลือกตั้งผู้สอบบัญชีทุกปี
บรรดาบทบัญญัติอื่น ๆ ของบริษัทจำกัดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นแนว
ทางปฏิบัติที่กฎหมายกำหนดไว้ในกรณีต่าง ๆ ที่บริษัทจำกัดจะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้
ประการใด เช่น บริษัทต้องการเพิ่มทุน หรือลดทุน จะต้องปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมายอย่างไรบ้าง
เป็นต้นโดยอ่านเพิ่มเติมที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ลักษณะ 22 หมวด 4 บริษัทจำกัด ส่วนที่ 4 การสอบบัญชี

ห้างหุ้นส่วนนั้นให้ผู้สอบบัญชีภาษีเซ้นต์แทนผุ้สอบบัญชีก็ได้แต่ทุนจดทะเบียนต้องไม่เกิน 5 ล้านเป็นต้น หากยุ่งยาก ก็จดเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ แทนก็ได้ ไม่ต้อง ยื่นงบการเงิน แต่อำนาจความรับผิดชอบหากมีคดีฟ้องร้อง ก็รับไปเสมือนเราเป็นผู้รับผิดชอบในหนี้สินที่ ไปก่อมาทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็น หจก หรือ บจก จะ เป็นนิติบุคคลแยก จากเราไปต่างหาก เวลามีหนี้ หรือคดีฟ้องร้อง ก็ไปเอากับห้างฯ หรือ บริษัทจำกัด(จำกัดคือจำกัดความรับผิดชอบที่ ห้างฯ หรือ บริษัท ไปทำอะไรใครไว้ ไม่เกี่ยวกับเราคือผู้ถือหุ้นในบริษัท และ ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างดังกล่าวฯ เวลาฟ้อง นิติบุคคล รับไปก่อน จากนั้น ก็ มาที่ ผู้จัดการ แล้วมาที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคือเรา แต่เราก็รับผิดชอบตามที่เราเอาเงินลงทุนไป เพราะคำว่าจำกัดคือจำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น จะมาไล่เบี้ยเอากับเราจนเราหมดตัวไม่ได้ เพราะเรา ลงทุนแค่ใหน ก็รับผิดชอบจำกัดแค่นั้น (รับทั้งความผิด และความชอบ ที่ห้าง หรือบริษัททำไว้)ตามสัดส่วนการลงทุนแต่เริ่มต้น

ต้วอย่าง งบแบบไม่มีเงื่อนไขที่ วงการตรวจสอบเรียกว่างบคลีน จะแบบนี้

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอ  ผู้ถือหุ้น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ         ผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ  ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้  ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่  การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลใน      งบการเงิน  การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอใน         งบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันแต่ละปีของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(เทอดทอง  เทพมังกร)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เลขทะเบียน 3787

บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด

กรุงเทพมหานคร

20 กุมภาพันธ์ 2552

4 Comments

Filed under บัญชีกับการลงทุน

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีในไทยมี 4 แบบ

17-report-of-independent-auditor

หน้ารายงานนี้สำคัญ สำหรับเจ้าของธุรกิจมากเพราะ ถ้าหน้ารายงานดีก็จะมีผลต่อการขอสินเชื่อจากแบงค์ได้ เป็นต้น อันนี้ชัดเจน

1.ดีหนึ่งประเภทหนึ่ง  ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข คือผู้สอบตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีแล้วพบว่า ส่วนมากตรงตามมาตรฐานการบัญชีในประเทศที่ได้กำหนดแล้ว เรียกว่า หน้ารายงาน 3 วรรค (แบบรูปข้างบนนี้ครับ) งบแบบนี้ แบงค์จะปล่อยกู้ได้ง่ายเพราะว่า ระบบบัญชี ได้มาตรฐาน และกิจการมีผลประกอบการดี คิดเป็น 100% ความผิดพลาดอื่นๆ เล็กน้อย

2.ดีหนึ่งประเภทสอง ความเห็นอย่างมีเงื่อนไข  อันนี้ พอได้ คิดเป็นดีก็ 75%

3.เสียครึ่งหนึ่งของงบการเงินทั้งหมด ผุ้สอบบัญชีจะออกหน้ารายงานว่า การไม่แสดงความเห็น แบบนี้แบงค์ไม่ให้กู้แล้ว เพราะระบบบัญชี การบริหารของกิจการ มีปัญหา คิดเป็นดี 50%

4.ดีน้อย เสียมาก อย่างเป็นสาระสำคัญ คือผู้สอบแสดงความเห็นแบบ การแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง อันนี้ขัดกับหลักการบัญชีเป็นส่วนมาก กู้ก็ไม่ได้ เพราะดียังไม่ถึง 25% สรรพากรจะเพ่งเล็งเป็นพิเศษ

นักลงทุนเวลาจะลงทุนต้องเปิดดูหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีเป็นอันดับแรกว่า แบบใหนก่อน ถ้าแบบที่ 1 ก็ลงทุนไปเลย ระบบบัญชี หรือระบบใหลเวียงของกระแสเงินเชื่อถือได้แน่นอน เพราะผู้สอบฯเสียวเวลาตรวจสอบพิสูจน์มาแล้ว จะซื้อหุ้นก็ซื้อเลย เว้นแต่ว่าเจอแบบ ผู้บริหารกิจการ กับ ผู้สอบซูเอี๋ยกัน สั่งหน้ารายงานออกมาแบบนี้ อันนี้ก็ซวยไป

ถ้าหน้ารายงานออกมาเป็นแบบที่ 2 ก็พอทน ยังมีเวลาแก้ไขให้ดีได้

ถ้าหน้ารายงานออกแบบที่ 3 ก็แย่หน่อยขนาดผู้สอบบัญชียังสงวนท่าทีเลยครับ เพราะกิจการอาจมีหนี้สินมาก หรือว่า กิจการอาจจะเกิดปัญหาในอนาคต คือเสี่ยงที่จะเจ็งง่าย เช่น ITV ในอดีต ผุ้สอบก็เคยออกหน้ารายงานแบบนี้ กรณีนี้นเป็นเหตุการณ์ที่กำลังอยุ่ในศาลครับ และสุดท้ายศาลก็สั่งจอดำไปจริงๆ นักลงทุนที่เข้ามาซื้อหุ้นที่เจ็บตัวหนักคือ คุณไตรภพ เพราะว่ามีเรื่องการเมืองหลังจากเข้าซื้อหุ้นแล้ว นี้คือเรื่องที่ไม่คาดฝัน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น แต่เข้าใจว่าตอนตัดสินใจซื้อคงคิดภายใต้สภาพแวดล้อมที่ประเทศเราดี พอมี ปว ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป

ถ้าหน้ารายงานออกแบยที่ 4 ก็เลี่ยงได้เลย

ปัญหาคือว่า หน้ารายงานไม่สวยแต่กิจการมีกระแสเิงินเข้าดีก็มีนะครับ เช่นกิจการมีหนี้สินเยอะมาก แต่ว่ารายได้ก็เยอะ แสดงว่ากิจการไม่มีปัญหาเรืองรายได้ เช่นธุรกิจปล่อยเช่าอาคาร ตึก ซึ่งรายได้ทำสัญญากันเป็นปีๆ  ชักดาบยาก ลูกค้าก็มีเงิน มีชื่อเสียง แต่กิจการก็มีหนี้สินมากเพราะว่า การตัดสินใจของผู้บริหาร ผิดพลาดก่อให้เกิดหนี้สินผูกพันระยะยาวเพราะผลเสียหายจากการลงทุน แต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ต้องรีไพแนนซ์ กิจการแบบนี้ รอปรับโครงสร้างหนี้ และจ้างผุ้บริหารเก่งๆมาก็จบ ฉิวต่อได้เพราะหนี้ใช้หมดแล้ว แต่รายได้ยังเข้ามาเหมือนเดิม อันนี้นักลงทุนต้องพิจารณาประกอบหลายๆอย่างด้วยครับ ปัญหาต่อไปของกิจการคือ ผู้บริหารเก่งๆ จะหาได้ง่ายๆหรอ เพราะว่าส่วนมากพอกิจการเจ๊ง ผุ้บริหารก็โดนไล่ออก แต่ผลของการตัดสินใจผิดนั้น อยู่กับบริษัทเป็นเกือบ 10 ปีหรือมากกว่านั้น ดอกเบี้ย ค่าปรับโครงสร้างหนี้อีก และค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญแพงมาก

หน้ารายงานสวย แต่ไม่น่าลงทุนก็มี เช่น งบที่ตกแต่งตัวเลข เพื่อล่อให้นักลงทุนมาลงทุน สุดท้ายก็ขาดทุนเพราะว่าบริหารงานผิดพลาด ความแตก นักลงทุนซวยไป หรือว่าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นต้น อันนี้นักลงทุนต้องพิจารณาหใ้รอบคอบด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนในหุ้นดังกล่าว

สรุป หน้ารายงานไม่ใช่ตัวตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนว่าจะซื้อหุ้นหรือไม่ เพราะถ้าเอาหน้ารายงานมาเป็นมาตรฐานในการซื้อหุ้น จะพลาดได้เหมือน ITV ( case study in the past)เพราะว่าหน้ารายงานแสดงความเห็นจากเหตุการณ์ในอดีต โดยไม่คำนึงถึงเหตุการณ์ หรือแนวโน้มในอนาคต เพราะว่าขณะผู้สอบทำการตรวจสอบฯนั้น เหตุการณ์ที่ร้ายแรงอาจกำลังก่อตัวแต่ยังเล็กน้อยอยู่ก็ได้

ถ้าพิจารณาจากเหตุการณ์ในอดีตดูจากงบการเงินประกอบได้ งบการเงินเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ที่สำคัญเท่านั้น แต่ไม่ใช่ตัวชี้วัดหรือเป็นตัวหลักได้เลย เหมือนกับเป็นเพียง หนึ่งในองค์ประกอบหลักของการตัดสินใจลงทุน ที่เรียกว่า swot จุดแข็ง จุดอ่อน ที่ผ่านมาเท่านั้น

นักลงทุนนอกจากจะต้อง SWOT ธุรกิจที่จะลงทุนแล้ว ยังมีประเด็น 4 P ประเด็นสิงแวดล้อม ประเด็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ประเด็นนโยบายของบริษัท   Positiion ทางการตลาด, แนวขาขึ้นหรือขาลงของกลุ่มธุรกิจ, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ หรือ  รวมถึงธรรมชาิติ จังหวะเวลาการลงทุน รัฐบาล และนโยบายรัฐ การเมือง สภาพเศรษฐกิจประเทศ โลก แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคของวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เรียกว่ารอบด้านเลยทีเดียว

2 Comments

Filed under บัญชีกับการลงทุน